คลินิกรักษาสัตว์ กับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด

โรงพยาบาล นั้นอาจเป็นสถานที่ที่มากกว่าการรักษา เพราะการดูแลสุขภาพต่างๆ ทำให้ผู้คนต้องแวะเวียนไปใช้บริการอยู่ตลอดเวลา โรงพยาบาลรักษาสัตว์ นั้นก็เช่นกัน แต่เมื่อภาพจำของโรงพยาบาล คือสถานที่ที่ดูอึมครึมไปด้วยความเจ็บป่วย เป็นสถานที่ที่ไม่น่าเข้าไปใกล้มากนัก จะดีกว่าไหมถ้า โรงพยาบาลรักษาสัตว์ เป็นสถานที่แสนอบอุ่น ดูสดใสในทุกครั้งที่เข้าไปใช้บริการ และเป็นเรื่องที่ดีในการดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณ

เมื่อต้องเลือกรับบริการสุขภาพระหว่าง คลินิกรักษาสัตว์ กับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ เราจะเลือกอะไร บางคนเลือกไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์ เพราะคิดว่าดูแลรักษาได้ครอบคลุมกว่า บางคนเลือก คลินิกรักษาสัตว์ เพราะไม่อยากต้องไปนั่งรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล แต่ความจริงแล้วเราควรพิจารณาตามอาการและความจำเป็นทางสุขภาพเป็นอย่างแรก มาดูกันให้ชัดๆ ว่าเมื่อไหร่ที่เราควรตัดสินใจเข้าคลินิกรักษาสัตว์ และเมื่อไหร่ที่ควรไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์

ทำความรู้จัก คลินิกรักษาสัตว์

คลินิก หมายถึง สถานพยาบาลที่เน้นบริการผู้ป่วยนอก โดยส่วนมากมักเป็นคลินิกโดยแพทย์ทั่วไปที่สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค แต่ก็มีคลินิกจำนวนไม่น้อยที่เป็นคลินิกที่ให้บริการเฉพาะทาง เช่น คลินิกผิวหนัง คลินิกโรคหู คอ จมูก คลินิกกายภาพ คลินิกกระดูก และยังมีคลินิกที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น คลินิกสุขภาพทางเพศชายและหญิง คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกบำบัดยาเสพติด คลินิกสุขภาพจิต เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่าง คลินิกรักษาสัตว์ กับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์
เปรียบเทียบระหว่าง คลินิกรักษาสัตว์ กับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ในภาพรวมกว้างๆ เพราะทั้งคลินิกและโรงพยาบาลต่างก็มีทั้งประเภทที่ให้การรักษาทั่วไปและรักษาเฉพาะทาง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการเปรียบเทียบ
– ประเภทของผู้ป่วย คลินิกเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกที่สามารถกลับบ้านได้เลยหลังรับการตรวจรักษา ในขณะที่โรงพยาบาลจะเน้นบริการผู้ป่วยในที่ต้องนอนค้างเพื่อดูอาการหรือรักษาตัวในระยะยาว
– ประเภทของการรักษา บริการสุขภาพโดยคลินิกมุ่งไปที่การดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งการให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรง การตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง และให้การรักษาชั้นต้นสำหรับทุกๆ อาการที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน ส่วนในโรงพยาบาลมักเป็นการตรวจรักษาโรคที่ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์เฉพาะทาง ต้องมีการผ่าตัดหรือใช้เครื่องมือเฉพาะ หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะฉุกเฉิน
– ขนาด คลินิกเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กและมีบุคลากรน้อยกว่าในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ และมีผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพหลากหลาย
– ราคา การตรวจรักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์เฉพาะทางและมีบุคลากรทางการแพทย์ในขั้นตอนต่างๆ มากกว่า มักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการไปคลินิก

อาการแบบไหนควรไปคลินิก
– การตรวจป้องกันและประเมินความเสี่ยง ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การรับวัคซีน
– การตรวจดูแลที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตามรักษาอาการโรคประจำตัว
– การรักษาอาการที่ไม่เร่งด่วนฉุกเฉิน อาการทั่วๆ ไปที่สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องถึงมือหมอเฉพาะทาง
– อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง

อาการแบบไหนควรไปโรงพยาบาล
– การตรวจรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทาง หรือมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง
– เมื่อจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดที่ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน มักต้องทำในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครันมากกว่าคลินิก
– อาการหรือภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
– อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดบาดแผลรุนแรง

คลินิกรักษาสัตว์ และ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ทำงานร่วมกันอย่างไร
คลินิก นั้นทำงานโดยประสานงานกับโรงพยาบาล ในกรณีที่แพทย์ประจำคลินิกประเมินว่าต้องส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือมีการรักษาที่ต้องนอนค้าง จะมีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางทันที ดังนั้น วางใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรไม่ว่าจะเลือกไปคลินิกหรือโรงพยาบาล