กระบวนการยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้า เป็นกระบวนการเริ่มต้นก่อนที่จะนำเครื่องหมายการค้า โลโก้สินค้า แบรนด์สินค้า เข้าสู่ระบบการจดทะเบียนกระบวนการยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้า นั้นจะเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเอกสาร โดยผู้ที่จะยื่นจดจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
- คำขอจดทะเบียน ตามแบบ ก.01 ฉบับจริง และฉบับสำเนา
- บัตรประจำตัวประชาชน (สำเนา 1 ฉบับ) กรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา
- หนังสือรับรองนิติบุคคล (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีที่ผู้ขอเป็น นิติบุคคล เช่น เป็นการจดในนามของ บริษัท ห้างหุ้นส่วน เป็นต้น
- หนังสือตั้งตัวแทน หรือ หนังสือมอบอำนาจ และบัตรของตัวแทน หรือ ผู้รับมอบอำนาจ (สำเนา 1 ฉบับ) ติดอาการแสตมป์ 30 บาท ต่อ ตัวแทน หรือ ผู้รับมอบอำนาจ 1 คน ในกรณีที่ผู้ขอเป็น นิติบุคคล เช่น เป็นการจดในนามของ บริษัท ห้างหุ้นส่วน เป็นต้น
เมื่อเราเตรียมเอกสารครบแล้ว ก็ต้องนำเอกสารทำหมดไปยื่นต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ นายทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบเอกสาร เพื่อจะนำไปสู่ขั้นตอนการ ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย (เช่น การตวรจสอบความเหมือน คล้าย) ไปสู่ขั้นตอนของการประกาศโฆษณา และนำไปสู่การออกหนังสือสำคัญ
ขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้า แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ
- ขั้นตอนการยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้า เป็นขั้นตอนที่ ผู้ที่ต้องการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องทำเตรียมเอกสารเพื่อ นำเอกสารดังกล่าวส่งให้ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบ ตามแบบที่กฎหมายกำหนด โดยสาระสำคัญของขั้นตอนนี้ คือ การตรวจสอบว่า เครื่องหมายการค้าที่ยื่นเพื่อขอจดดังกล่าวนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ (เช่น ขาดลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าไปเหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้าของคนอื่น เป็นต้น)
- ขั้นตอนการประกาศโฆษณา เป็นขั้นตอนที่ทางกรมฯจะออกประกาศโฆษณาเพื่อให้ เผื่อมีผู้ที่ต้องการคัดค้าน กล่าวคือ เขาอาจจะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปเหมือน หรือ คล้ายกับ เครื่องหมายการค้าของเขา
- ขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญ เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่ได้ประกาศโฆษณาแล้ว ไม่มีคนคัดค้าน เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ก็จะได้รับการจดเครื่องหมายการค้า ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ระยะเวลาส่วนใหญ่ที่จะต้องดำเนินการจะอยู่ที่การดำเนินการที่กรมฯเป็นส่วนใหญ่ และความรวดเร็วก็จะขึ้นอยู่กับเอกสารที่เรายื่นไปว่าครบถ้วนหรือไม่ ไม่มีความเหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้าของคนอื่น และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย เช่น เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขาดความบ่งเฉพาะหรือไม่ เป็นต้น https://thaiwisdomservices.com/